ไกรรัช เทศมีมีการแก้ไขบทความ  23:15 เมื่อ 19 ธันวาคม 2562
การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก

การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของใบจาก ศึกษาภูมิปัญญา ความต้องการและแนวทางการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์และถ่ายทอดการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์กับกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน อําเภอพระสมุทรเจดีย จังหวัดสมุทรปราการ ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ได้แก่ ดอกแคสตัส ดอกบันไดสวรรค์  โพรเทีย ดอกไฮเดรนเยีย ดอกบ๊วย และใบไม้

กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกำหนดออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลความต้องการและแนวทางการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก คือ ผู้นำชาวบ้าน ปราชญ์เกษตรดีเด่นบ้านคลองยายหลี ซึ่งเป็นตัวแทนสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรชุมชน อําเภอพระสมุทรเจดีย จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่างการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก  คือ กลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน อําเภอพระสมุทรเจดีย จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 40 คน

ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ และขนาดของเส้นใยของใบจากสามารถรับแรงดึงสูงสุดเฉลี่ย 88.864 นิวตัน แสดงให้เห็นว่าใบจาก สามารถยืดสูงสุดเฉลี่ย 2.334 มิลลิเมตรซึ่งความแข็งแรงของ   ใบจากเพียงพอที่จะดัดใบ โค้งใบ งอใบ ยืดใบ ได้โดยปราศจากการฉีกขาด

ความต้องการและแนวทางการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก พบว่า เกษตรกรมีความสนใจ ในการที่จะนำใบจากซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่นมาพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจาก เพราะอยากลดปัญหาว่างงาน เพิ่มรายได้และส่งเสริมให้คนในชุมชน สร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้ตนเองและครอบครัว เพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและเพื่อพัฒนาฝีมือของกลุ่มในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่คนในชุมชน 

           ผลการศึกษาความเหมาะสมของการออกแบบผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ระดับความคิดเห็นของผลิตภัณฑ์ต้นแบบดอกไม้ประดิษฐ์จากใบจากในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านความสวยงาม และด้านความคงทนอยู่ในระดับมาก   

           การศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อการดำเนินการถ่ายทอดความรู้การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์ พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านวิทยากรมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ด้านผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ด้านความรู้ความเข้าใจมีความพึงพอใจระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 และด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56

ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่ 

https://drive.google.com/file/d/1sc4aZksTdsGoKDbCXNOYisesq7Ry1PYT/view?usp=sharing


 แสดงความคิดเห็น

Guest (กรุณาลงทะเบียน)

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 172 ถนนอิสรภาพ แขวง วัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพ 10600
Version 1.00 © 2018 Dhonburi Rajabhat University.